สำหรับการแข่งขันนี้ เราได้เข้าร่วมด้วยความบังเอิญ (อาจารย์แนะนำ(กึ่งบังคับ)ให้ลง) แต่เราและทีมของเราก็พยายามเฟ้นหาหัวข้อกันอย่างเต็มที่ เพื่อตอบ Keyword ของโจทย์สามคำได้แก่ AI, IoT และ Living Space ซึ่งเราได้ตกผลึกออกมาเป็น "Smart Crosswalk" ซึ่งเป็นระบบข้ามถนนอัจฉริยะที่จะช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุลงได้ ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทีมที่ผลักดันให้เรา Pitching Idea บนเวทีต่อหน้ากรรมการคนเดียว (จริง ๆ ;-;) ทำให้กลายเป็นว่าเราพยายามดันทุกอย่างไปจนสุดเพราะไม่มีใครห้ามเราได้ จนได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 มาครอง~ เฮ่ 555 \o/
นอกเหนือจากนั้นแล้ว เรายังได้รับคำชมในภายหลังจากกรรมการ ในเรื่องการ Solo Presentation ที่สามารถอธิบายประเด็นต่าง ๆ ในตัวโปรดักซ์ได้อย่างครบถ้วนและเห็นภาพ รวมถึง Business Mindset ที่มักจะเป็นสิ่งที่วิศวกรส่วนมากจะไม่ค่อยมีกัน ทำเอาหุบยิ้มไม่ได้เลยล่ะ =v=
ผู้ร่วมทีม: พิชชากรณ์, ศิรชัช, นันทวัฒน์, ภูวรินทร์
ผู้ช่วยเพิ่มเติม: สิรีธร (3D Modelling), ภาสกร (ML: Object Detection)
สำหรับการแข่งขันนี้ เราได้เข้าร่วมในฐานะทีมสังเกตการณ์ (Observe) โดยได้รับผิดชอบในส่วนของการดูแล Server ซึ่งทำให้ได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้งาน Docker และ Container, การทำ Low-Code Programming ด้วย Node-RED รวมถึงการ Publish / Subscribe ข้อมูลผ่าน Topic บน MQTT Protocol ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยลองใช้งานมาก่อน อีกทั้งยังต้อง Integrate ระบบของผมเข้ากับ Hardware และ Simulation ของเพื่อน ๆ ถือว่าเปิดโลกและได้ฝึกมือมาก ๆ เลยล่ะ
ผู้ร่วมทีม:สำหรับโครงการนี้เป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถและสมรรถนะทางวิชาการในสาขาต่าง ๆ เป็นการเตรียมความพร้อมในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วยระบบ TCAS และส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้และแนวทางในการจัดทำและยื่นแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ในการเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
สำหรับตัวผมเองนั้นได้รับโอกาสที่จะร่วมเป็นหนึ่งในวิทยากรในการแนะแนวน้องในการเข้าศึกษาต่อในรอบ Portfolio อย่างต่อเนื่องเสมอมา
สำหรับค่ายนี้เป็นค่ายที่จัดขึ้นสำหรับน้อง ๆ ที่มีความสนใจในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยผมได้รับผิดชอบในการสอนในรายวิชาการสร้างเว็บไซต์ด้วย HTML CSS และ JavaScript (ค่ายครั้งที่ 16) และรายวิชา Git (ค่ายครั้งที่ 17) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีส่วนช่วยและส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านการสอนและการนำเสนอได้เป็นอย่างดี
ชมรมกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ เป็นหนึ่งในชมรมกีฬาภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งผมได้เข้าร่วมชมรมนี้ตั้งแต่เข้ามหาวิทยาลัยใหม่ ๆ ในช่วงปี 1 เลย ซึ่งผมเองได้เข้าร่วมกับฝ่ายโปรดักชัน ด้านการจัดการสตรีม คอยดูแลและจัดการการถ่ายทอดสดทั้งหมดของชมรม การเข้าร่วมชมรมนี้ทำให้เราได้ลองอะไรใหม่ ๆ รวมถึงได้รู้จักเพื่อนในวัยมหาวิทยาลัยที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นครับ
Facebook: KKU eSportsสำหรับการแข่งขันนี้ ถือเป็นการแข่งขันครั้งแรกของผมในด้านการแข่งขันสร้างเว็บเพจที่จัดในรูปแบบของทีม ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มคุณภาพของผลงานในส่วนของความสามารถของแต่ละคนในทีมแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความสามัคคีกันในกลุ่ม และฝึกการวางแผนงานด้วยการแบ่งงานกันทำเพื่อให้เสร็จทันตามกำหนดและตรงตามเกณฑ์การให้คะแนนอีกด้วย
ผู้ร่วมการแข่งขัน: สหัสวัต, รณกร, ชนาธิป, จิรภัทร จอมทอง
เป็นกิจกรรม Workshop ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเทคโนโลยีด้าน AR (Augmented Reality) (รวมถึงตัวผมเอง) ได้ เปิดมุมมองสู่โลกเสมือนจริง AR ด้วยแว่นตาอัจฉริยะ Epson Smart Glass Moverio ที่ได้รับการสนับสนุนจากทาง Epson Thailand และมีอาจารย์อภิชัย เรืองสิริยะกุล ผู้เชี่ยวชาญและพัฒนาโปรแกรม เป็นวิทยากรและให้คำแนะนำต่าง ๆ ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจน Advanced โดยงานนี้เป็นครั้งแรกที่ผมได้ศึกษาเทคโนโลยีด้าน AR เป็นครั้งแรก รวมถึงได้ทดลองพอร์ตแอปพลิเคชันลงแว่นตาอัจฉริยะจากทาง Epson ซึ่งเป็นตัวจุดไอเดียต่าง ๆ และเปิดโลกทัศน์ใหม่ของผมในด้านเทคโนโลยี AR พร้อมยังพบว่ายังมีสิ่งที่น่าลองและน่าสนใจในเทคโนโลยีนี้อีกมาก
การแข่งขันนี้เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นเนื่องในโอกาสสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ซึ่งผมได้เข้าร่วมแข่งขันในการแข่งขันนี้รวมทั้งสิ้น 2 ครั้ง โดยในครั้งที่ 2 (2562) ผมได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ด้วยคะแนน 96 คะแนน ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้วและมีพัฒนาการของเว็บไซต์ที่ดีกว่าการแข่งขันในครั้งที่แล้วของผม โดยการแข่งขันนี้จะเน้นทักษะด้านการเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ด้วยภาษา PHP เป็นหลักในการตัดสิน ซึ่งเป็นการแข่งขันที่สนับสนุนและส่งเสริมผมให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาเว็บไซต์ด้วยภาษา PHP และภาษา HTML รวมถึงด้านภาษา CSS หรือ Library อย่าง Bootstrap ซึ่งเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการพัฒนาเว็บไซต์ด้านความสวยงามและถือเป็นหนึ่งในเกณฑ์ในการตัดสินคะแนนอีกด้วย
ผมได้รับมอบหมายให้เป็นวิทยากรประจำค่าย โครงการค่ายส่งเสริมศักยภาพและความเป็นผู้นำของคณะกรรมการนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2562 ซึ่งทำให้ผมกลายเป็นผู้จัดกิจกรรมต่าง ๆ และได้ถ่ายทอดประสบการณ์ทั้งหมดตั้งแต่ต้นปีการศึกษาจนจบให้รุ่นน้องได้รับรู้และได้นำข้อดีข้อเสียต่าง ๆ ไปปรับใช้ในปีของน้อง ๆ ถัด ๆ ไป โดยผมเป็นผู้ดูแลสื่อโสตทัศนูกรณ์ระหว่างค่าย ทั้งการถ่ายภาพ การจัดทำวิดีโอ หรือการจัดเตรียมสไลด์สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ
ดูอัลบั้มกิจกรรมค่ายโอลิมปิกวิชาการและดาราศาสตร์โอลิมปิกหรือที่ทุกคนเรียกกันติดปากว่า "ค่าย สอวน." เป็นค่ายที่มีส่วนสำคัญต่อผมอย่างมากในการเริ่มสนใจภาษาทางคอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง ภายในค่าย ผมได้เรียนรู้ทักษะการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C, C++ ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งจากทางอาจารย์วิทยากร, พี่ ๆ ค่ายและจากเพื่อน ๆ ของผม ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ผมได้ศึกษาภาษา C, C++ เพราะในอดีต ผมเริ่มต้นการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากภาษา Java ที่ถือว่าเป็นภาษาที่มีรูปแบบภาษาเป็น OOP (Object-Oriented Programming) อย่างเต็มรูปแบบซึ่งแตกต่างจากคนอื่นที่มักจะศึกษาจากภาษา C ซึ่งเป็นภาษาเชิงโครงสร้าง (Structure Programming) ทำให้ผมได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากมายและนำไปปรับปรุงกับสิ่งที่ผมเคยทำเอาไว้ในโปรแกรมต่าง ๆ ของผม
สำหรับการแข่งขันนี้ เป็นการแข่งขันแรกของผมในด้านภูมิศาสตร์ และเป็นครั้งแรกของผมที่ได้นำเอาความรู้ทั้งหมดที่มี ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาการ ด้านคอมพิวเตอร์ ด้านการถ่ายภาพ-วิดีโอ และอื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างชิ้นงานขึ้นมา โดยกลุ่มพวกเราได้ร่วมกันสร้างสื่อภูมิสารสนเทศภายใต้หัวข้อ "ขุมทรัพย์ชุมชน" ที่ทาง GISTDA เป็นผู้ตั้งโจทย์ให้ และเราได้มุ่งประเด็นไปยัง "E-SAN Street Food" ถนนที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมของชาวอีสาน ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย ผ่านเมนูอาหารต่าง ๆ ที่มีให้เลือกสันและแซบด้วยรสชาติ แซบด้วยวัตถุดิบ แซบด้วยกรรมวิธี จนกลายเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก
สำหรับหน้าที่และภารงานที่ผมได้รับมอบหมาย ในการเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการนักเรียนประจำปีการศึกษา 2561 คือ หัวหน้าฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์และสารสนเทศ ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลเครื่องเสียงในงานกิจกรรมต่าง ๆ ของทางโรงเรียน ตั้งแต่กิจกรรมประจำอย่าง กิจกรรมเข้าแถวหน้าเสาธง ไปจนถึงงานใหญ่ ๆ อย่างเช่น กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสีภายในประจำปี อีกทั้งผมยังได้รับหน้าที่ในการดูแลการถ่ายทอดสดงานกิจกรรมภายในของทางโรงเรียน โดยผมขอยอมรับตามตรงว่า ในตอนแรกเริ่ม ความรู้ด้านโสตทัศนูปรกรณ์ของคนในฝ่ายงานค่อนข้างที่จะมีอยู่น้อย ทำให้แรก ๆ อาจจะดูเป็นงานหนักสำหรับผมและเพื่อน ๆ แต่เราก็เรียนรู้จากข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่พบเจอในแต่ละงาน เพื่อปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องนั้นในงานถัด ๆ ไป จนผมได้รับการยอมรับและได้รับรางวัลนักเรียนผู้มีผลงานดีเด่นด้านงานกิจกรรมโรงเรียน เนื่องในกิจกรรมวันแห่งเกียรติยศประจำปีการศึกษา 2561 ซึ่งถือเป็นพัฒนาการที่ดีของผม และต้องขอบคุณไปยังอาจารย์และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ ที่สอนทักษะงานให้ และถือเป็น 1 ในความทรงจำที่ดี ตลอดปีการศึกษาของผม :)
สมาชิกฝ่ายโสตฯ 2561: สหัสวัต, สิรีธร, ณัฐณิธิชัย, ศรุตา, ธีร์ธัช, ก้องเกียรติ, ภัทรพล, สุพศิน
กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านความเป็นผู้นำ, ความสามัคคีในหมู่คณะ, การวางแผนการทำงาน และความกล้าแสดงออกของคณะกรรมการนักเรียน ทั้งยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคณะกรรมการนักเรียนรุ่นก่อน ๆ และทัศนคติในบางประเด็นกับอาจารย์ และยังได้เสนอแนะ/แนะนำกิจกรรม - การปรับปรุงโรงเรียนไปในทิศทางที่ดีขึ้นอีกด้วย
โดยในปีถัดมา ผมได้รับมอบหมายให้เป็นวิทยากรประจำค่าย โครงการค่ายส่งเสริมศักยภาพและความเป็นผู้นำของคณะกรรมการนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2562 ซึ่งทำให้ผมกลายเป็นผู้จัดกิจกรรมต่าง ๆ และได้ถ่ายทอดประสบการณ์ทั้งหมดตั้งแต่ต้นปีการศึกษาจนจบให้รุ่นน้องได้รับรู้และได้นำข้อดีข้อเสียต่าง ๆ ไปปรับใช้ในปีของน้อง ๆ ถัด ๆ ไป
หัวข้อ: การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำหมักจากสัปปะรดพันธุ์ปัตตาเวียและใบยูคาลิปตัสที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าคา, บัวบก และหญ้านวลน้อย
โครงงานนี้เป็นโครงงานที่ผมทำร่วมกับเพื่อนอีก 2 คน โดยศึกษาปัญหาจากสิ่งรอบ ๆ ตัว ซึ่งพวกเราเลือกที่จะศึกษาเกี่ยวกับวัชพืชที่พบได้ตามครัวเรือนทั่วไปโดยเฉพาะที่ก่อให้เกิดปัญหาและความรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัย อันได้แก่ หญ้าคา, หญ้านวลน้อย และ ใบบัวบก ซึ่งพวกเราต้องการที่จะกำจัดมันโดยปราศจากสารเคมี ทำให้พวกเราเริ่มศึกษาไปทางด้านสารที่มาจากพืช - สมุนไพร เช่น สัปปะรด, ใบยูคาลิปตัส มาเป็นตัวเลือกหนึ่งของเรา โดยโครงงานนี้ใช้เวลาศึกษาเพียง 6 เดือนทำให้พวกเราจำเป็นต้องวางแผนงานกันอย่างดี ทั้งในการวางแผนการทดลองซึ่งมีการทดลองซ้ำถึง 3 ครั้งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คาดเคลื่อนน้อยที่สุด, การวางแผนการทำงานในการศึกษาข้อมูล, ศึกษาความเป็นไปได้ต่าง ๆ จนงานสำเร็จลุล่วงและได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ไปในที่สุด
ผู้ร่วมทีม: ศุภิสรา, บัญญวิต
การแข่งขันนี้เป็นการแข่งขันแรกของผมทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญและส่งผลให้ผมสนใจทางด้านคอมพิวเตอร์ และ IT มากขึ้นจากในอดีต ซึ่งเป็นการแข่งแบบทีมคู่และมีเนื้อหาที่ใช้ในการแข่งขันที่ค่อนข้างละเอียด ทำให้ต้องมีการวางแผนในเรื่องการทบทวนกับเพื่อนร่วมทีมให้ดี จนสามารถผ่านเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้ายและได้รางวัลมาในที่สุด
ผู้ร่วมการแข่งขัน: เนติพร (ครั้งที่ 10), วรปรัชญ์ (ครั้งที่ 11)
ในทุกยุคทุกช่วงเวลาของสังคมไทย ได้มีการให้ความสำคัญในเรื่องชีวิตและสุขภาพมาอย่างยาวนาน โดยสามารถพบเห็นได้จากการแพทย์แผนโบราณที่มีการนำสมุนไพรมาใช้ในการทำยาเพื่อดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงมาตั้งแต่อดีต ต่อเนื่องมาจนถึงในปัจจุบันผู้คนต่างก็หันมาใส่ใจสุขภาพและห่วงใยบุคคลรอบข้างมากยิ่งขึ้น โดยที่ “ยา” เป็นกลไกหลักสำคัญในการวินิจฉัย, บำบัด, บรรเทา, รักษา, หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์ ในสังคมปัจจุบันของเรา ยาถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการดำรงชีวิตและช่วยให้มนุษย์มีอายุที่ยืนยาวขึ้น โดยที่ยาแต่ละชนิด แต่ละรูปแบบ จะมีวิธีในการใช้ วิธีในการออกฤทธิ์ หรือปริมาณที่ต้องรับประทานที่แตกต่างกันออกไป ในบางครั้ง ฉลากยาที่ระบุอยู่บนผลิตภัณฑ์อาจยากต่อการอ่าน, เลือนลาง, หรือทำความเข้าใจได้ยาก รวมถึงในบางครั้ง แพทย์หรือเภสัชกร อาจมีเวลาที่จำกัดในการอธิบายข้อมูลให้กับผู้ป่วยทุกคนเข้าใจอย่างครบถ้วนชัดเจน
คณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว และมีความคิดริเริ่มที่จะพัฒนาแอปพลิเคชันให้ข้อมูลการใช้ยาด้วยการใช้กล้องถ่ายภาพของสมาร์ตโฟนในการอ่านและวิเคราะห์ฉลากยาด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกสบาย ลดภาระในการจดจำ และเป็นตัวช่วยอย่างหนึ่งให้มนุษย์มีสุขภาพที่ดีมากยิ่งขึ้นต่อไป
โปรเจกต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา EN811702 Mobile Application Development ซึ่งมีการทำงานร่วมกับเพื่อนในสาขา ได้แก่ วัชรพงษ์ และ นันทวัฒน์
Checkout this repository
ในปัจจุบัน งานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการเปิดให้แพทย์ผู้ใช้ยา สามารถจัดหายาเฉพาะรายให้แก่ผู้ป่วยเฉพาะโรคได้ โดยการกรอกแบบฟอร์มด้วยลายมือและดำเนินการยื่นเรื่องผ่านหน่วยธุรการ ของงานเภสัชกรรมฯ และมีระยะเวลาในการดำเนินการตั้งแต่ 1 วัน ถึง 1 เดือน โดยเหตุผลที่ระยะเวลาในการดำเนินการดังกล่าวมีความแตกต่างกันมาก เกิดจากการที่เอกสารทั้งหมดใช้การส่งเอกสารแบบเป็นกระดาษ (Physical Document) ทำให้อาจมีการตกหล่นระหว่างทางได้ อีกทั้งยังไม่สามารถเรียงลำดับความสำคัญได้ชัดเจน
นอกเหนือไปจากนั้น ในการติดตามสถานะของเอกสารในปัจจุบันยังเป็นการติดตามด้วยตนเองผ่านทางโทรศัพท์ หรือการสอบถามกับผู้ดำเนินเอกสารโดยตรง อันก่อให้เกิดการสิ้นเปลืองเวลาและทรัพยากรบุคคล อีกทั้งเอกสารส่วนหนึ่งยังจำเป็นต้องใช้การกรอกด้วยลายมือ ทำให้มีความคลาดเคลื่อนและตกหล่นของข้อมูล
ดังนั้น คณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาระบบติดตามการจัดหายาเฉพาะรายให้ผู้ป่วยเฉพาะโรคโดยใช้ระบบติดตามและจัดการเอกสารขององค์กรผ่านเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการเอกสาร
โปรเจกต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา EN811301-02 Advanced Computer Programming ซึ่งมีการทำงานร่วมกับเพื่อนในสาขา ได้แก่ ภัทราณี และ พชรพล
Checkout this repository
โปรเจกต์นี้เป็นอีกโปรเจกต์ที่ทำร่วมกันกับ Nepumi ซึ่งเป็นเพื่อนมัธยมปลายที่รู้จักตอนเข้าค่าย สอวน. คอมพิวเตอร์ 2562 โดยเป็นเว็บไซต์ที่ใช้ในการตรวจสอบผลการรันโปรแกรมว่าโปรแกรมนั้นได้ผลลัพธ์ตรงตามที่โจทย์ตรงการ และมีประสิทธิภาพหรือไม่ ที่อยู่บนพื้นฐานของภาษา HTML, CSS (+Bootstrap), PHP และ JavaScript รวมถึง Opensource ต่าง ๆ ทั้ง PDF.js, Editor.md, MDBootstrap โดยผมเป็นผู้ดูแลในส่วนของ Frontend หรือหน้าตาทั้งหมดของเว็บไซต์ รวมถึงการแสดงผลต่าง ๆ และ Nepumi เป็นผู้ดูแลในส่วนของระบบตรวจโปรแกรมที่อยู่ในฝั่งของ Backend
โปรเจกต์นี้ได้รับการสนับสนุนจาก รศ.ธัชพงศ์ กตัญญูกุล (tatpongkatanyukul) ในการปรับเว็บไซต์จากการตรวจโปรแกรม เป็นการใช้ในการตรวจสอบคำตอบของวงจรไฟฟ้าในวิชา Linear Circuit Analysis ทั้งในรูปแบบสมการ, คำตอบของตัวแปร และอื่น ๆ
ลองไปส่งโค้ตกัน Checkout this repository
โปรเจกต์นี้เป็นโปรเจกต์ที่ทำร่วมกับ EntityKunG ซึ่งเป็นเพื่อนที่รู้จักที่อยู่โรงเรียนมหาวชิราวุธฯ ซึ่งเป็นเว็บไซด์ที่ช่วยให้นักเรียนภายในโรงเรียนสามารถลงชื่อเข้าร่วมกิจกรรมได้ ซึ่งสะดวกต่อการลงทะเบียนเพราะไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง เพียงแค่กรอกครั้งแรกในตอนสมัครสมาชิกเท่านั้น โดยอยู่บนพื้นฐานของภาษา HTML, CSS (+Bootstrap), PHP และ JavaScript และยังมี Opensource อื่น ๆ เช่น Summernote WYSIWYG Editor สำหรับตัว Editor, MDBootstrap สำหรับ Library เสริมของ
Bootstrap ต่าง ๆ ที่เคยใช้ทั้งหมดกับ SMDWebDev มาปรับใช้กับเว็บนี้ แต่เว็บไซด์นี้จะมีการปรับปรุงและรื้อโครงสร้างพื้นฐาน - ความปลอดภัยของเว็บไซด์ใหม่ทั้งหมด (และนำไปใช้กับ SMDWebDev ด้วย)
เข้าชมเว็บไซต์
โปรเจกต์นี้เป็นโปรเจกต์แรกที่ได้ศึกษาทางด้านการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อใช้งานอย่างจริงจัง (ก่อนหน้านี้จะเน้นพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการแข่งขัน) โดยงานนี้เป็นการปรับปรุงเว็บไซต์เดิมของทางโรงเรียนที่ผมพบว่า
ตัวเว็บไซต์ยังใช้ Joomla ซึ่งค่อนข้างที่เป็นเทคโนโลยีที่เก่า (Outdated) ในระดับหนึ่งแล้ว ทั้งยังไม่ครอบคลุมความต้องการบางส่วนของอาจารย์ และในส่วนของการติดตั้ง-ตั้งค่าคอมโพเนนต์ (Component), โมดูล (Module) และปลั๊กอิน (Plug-in)
ยังยากสำหรับการปรับปรุงแก้ไขและอัพเดท ทำให้ผมมองหาวิธีการใหม่ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถของเว็บไซต์เดิม ในตอนแรกผมเริ่มด้วยการศึกษา CMS อื่นนอกจาก Joomla เช่น Wordpress, Drupal, Blogger แต่พบว่ามีข้อจำกัดบางอย่างที่ไม่สามารถปรับแต่งเองได้
ทำให้สุดท้ายผมจึงตัดสินใจเขียนทั้งหมดขึ้นมาเอง โดยอยู่บนพื้นฐานของภาษา HTML, CSS (+Bootstrap), PHP และ JavaScript และยังมี Opensource อื่น ๆ เช่น Summernote WYSIWYG Editor สำหรับตัว Editor, MDBootstrap สำหรับ Library เสริมของ
Bootstrap มาปรับใช้กับเว็บไซต์ใหม่ที่กำลังพัฒนา
เข้าชมเว็บไซต์ใหม่ (ยกเลิกโปรเจกต์) Checkout this repository
โปรแกรมนี้เขียนขึ้นเพื่อใช้ในการแข่งขัน SMD Basketball League 2018 โดยเฉพาะ โดยใช้ภาษา Java ร่วมกับไลบารี Library สำหรับในการจัดทำ GUI ได้แก่ WindowBuilder และ JavaX โดยมีความคิดริเริ่มมาจากการที่โปรแกรม Freeware ของ Shot Clock
ที่มีอยู่ทั่วไปมีฟังก์ชั่นที่จำกัด อีกทั้งโปรแกรมที่มีฟังก์ชั่นตรงตามความต้องการยังจำเป็นจะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ซอร์ฟแวร์ที่มีราคาสูงในระดับหนึ่ง อาจารย์หมวดพลศึกษาจึงได้เสนอให้นักเรียนจัดทำ Shot Clock ขึ้นมาเพื่อการจัดแข่งขันภายในโรงเรียนโดยมีผมเป็นผู้พัฒนาและดูแลโปรแกรม
โดยปัจจุบันโปรแกรมได้รับการพัฒนาต่อเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ การทำงาน และหน้าตา จนเป็นที่ยอมรับและได้นำไปใช้จริงร่วมด้วยในงานกีฬาสีภายในของโรงเรียนประจำปีการศึกษา 2561
Checkout this repository
โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่จัดทำขึ้นเพื่อปลดล็อกข้อจำกัดเดิม ๆ ของระบบออดโรงเรียนที่มีฟังก์ชั่นที่จำกัดและยากต่อการดูแลรักษา ทำให้อาจารย์ที่ดูแลระบบออดอยู่เดิมนั้น เล็งเห็นถึงความสามารถของผมและเสนอให้ลองจัดทำโปรแกรมนี้ขึ้นมา โดยโปรแกรมนี้เขียนด้วยภาษา
Java ร่วมกับไลบารี Library สำหรับในการจัดทำ GUI ได้แก่ WindowBuilder และ JavaX
Checkout this repository
ปลั๊กอิน Minecraft ภาษา: Java “เป็นโครงงานที่จุดประกายความฝันในการพัฒนาโปรแกรมของผม แม้จะดูเป็นงานที่ง่าย ๆ แต่ก็ต้องใช้ความรู้และการวางแผนในการพัฒนา”
Checkout this repository